จั่วหัวมาแบบนี้ ใครก็น่าจะรู้กันแล้วว่ากำลังพูดถึงข้อดีของการทำประกันสุขภาพที่มีความคุ้มครองรอบด้าน ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลต่างๆ ให้คุณไม่ต้องกังวลใจยามเจ็บป่วย แต่สิ่งที่คุณอาจจะไม่รู้ ก็คือ แท้จริงแล้วการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงนั้นอาจมีค่าใช้จ่ายแฝงที่มากกว่าค่ารักษาพยาบาล ไม่ว่าจะเป็น การรักษาแบบทางเลือกที่ประกันสุขภาพอาจไม่ครอบคลุม ค่าใช้จ่ายช่วงพักฟื้น แล้วไหนจะยังมีค่าใช้จ่ายอีกมากมายที่เราอาจต้องแบกรับในกรณีที่เราต้องพักงาน หรือขาดรายได้อีก
จากการรวบรวมข้อมูลการเบิกเคลมค่ารักษาจากฝ่ายสินไหมประกันสุขภาพ เอไอเอ ประเทศไทย นั้น พบว่าอัตราค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยจากการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงมีดังนี้
● โรคมะเร็ง : 300,000 ถึง 8,000,000 บาท*
● โรคหลอดเลือดสมอง : 110,000 ถึง 800,000 บาท*
● ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรง : 200,000 ถึง 700,000 บาท*
● โรคปอดระยะสุดท้าย : ค่ารักษาเริ่มต้น 365,000 บาท*
● โรคไตวายเรื้อรัง : ค่ารักษาเริ่มต้น 30,000 บาทต่อเดือน*
และในกรณีที่ต้องมีการนอนโรงพยาบาลด้วย ก็จะมีค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าห้องที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นอีก ขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดขึ้น โดยอ้างอิงอัตราค่าบริการห้องพิเศษเดี่ยวมาตรฐานโดยประมาณต่อวันของโรงพยาบาลต่าง ๆ จากข้อมูลบนเว็บไซต์ทางการของโรงพยาบาลแต่ละแห่ง รวมค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการโรงพยาบาล และค่าบริการพยาบาล รวบรวมเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2566 ดังนี้
● โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล : 11,300 บาท/วัน**
● โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท : 9,200 บาท/วัน**
● โรงพยาบาลพระราม 9 : 9,000 บาท/วัน**
● โรงพยาบาลวิภาวดี : 4,760 บาท/วัน**
● โรงพยาบาลเปาโล เกษตร : 4,340 บาท/วัน**
● โรงพยาบาลศิริราช : 5,500 บาท/วัน**
● โรงพยาบาลรามาธิบดี : 5,100 บาท/วัน**
● โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ : 3,500 บาท/วัน** (ไม่รวมค่าอาหาร ค่าบริการโรงพยาบาล และค่าบริการพยาบาล)
● โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช : 2,000 บาท/วัน** (ไม่รวมค่าบริการโรงพยาบาล และค่าบริการพยาบาล)
*อ้างอิงข้อมูลจาก ข้อมูลค่ารักษาพยาบาลปี 2564 ฝ่ายสินไหมประกันสุขภาพ เอไอเอ ประเทศไทย
**อ้างอิงข้อมูลจากการรวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ทางการของโรงพยาบาล รวบรวมเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2566
ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้งสองส่วนดังกล่าวนั้น ประกันสุขภาพ เอไอเอ ในหลากหลายแผนต่างก็ให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมแตกต่างกัน ตามรายละเอียดความคุ้มครองของแผนที่เลือก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ AIA Health Happy ซึ่งเป็นประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย¹ ที่มีการจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามจริง สูงสุด 25 ล้านบาทต่อรอบปีกรมธรรม์ ทั้งเจ็บป่วยหนัก ผ่าตัดใหญ่ หรือประสบอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน ทั้งยังมีการเพิ่มความคุ้มครองเป็น 2 เท่า² สูงสุด 50 ล้านบาท รวม 4 ปีกรมธรรม์ หากป่วยเป็นโรคร้ายแรง³
มองดูเผินๆ ด้วยผลประโยชน์ความคุ้มครองในระดับนี้ก็น่าจะเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แต่นั่นก็เป็นเพียงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเพียงส่วนเดียวเท่านั้น
เพราะในการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงนั้นยังมีค่าใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นอีก ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง แม้ค่าใช้จ่ายในการให้ยาเคมีบำบัด การฉายรังสี หรือการนอนโรงพยาบาล จะอยู่ในความคุ้มครองของประกันสุขภาพ
แต่การเดินทางมารับการรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการฉายรังสี ที่ต้องทำต่อเนื่องทุกวันติดต่อกันเป็นเดือน ๆ จนกว่าจะครบกำหนดการรักษา ก็ทำให้เกิดค่าเดินทาง ไป-กลับ ค่าอาหารที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ รวมถึงรายได้จากการทำงานที่อาจจะหดหายไป เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และอาจกระทบไปถึงรายได้ของคนในครอบครัว ที่ต้องหยุดงานเพื่อมาดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดในระหว่างที่เข้ารับการรักษาและพักฟื้น
ทำให้รวม ๆ แล้ว ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในส่วนที่นอกเหนือจากค่ารักษาพยาบาล ก็อาจสูงถึงหลายหมื่นจนถึงหลักแสนบาทต่อเดือนเลยทีเดียว
ดังนั้นในส่วนนี้เองจึงเป็นหน้าที่ของประกันโรคร้ายแรงที่จะจ่ายผลประโยชน์โดยตรงให้กับผู้เอาประกันภัยเมื่อตรวจเจอโรคร้ายแรง เพื่อเป็นเงินก้อนที่ใช้สำหรับการรักษาและการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ควบคู่ไปกับการรับผลประโยชน์ในรูปแบบของค่ารักษาพยาบาลจากประกันสุขภาพ
ตัวอย่างเช่น AIA Multi-Pay CI ประกันโรคร้ายแรงที่ “เจอ จ่าย แต่ไม่จบ” พร้อมจ่ายผลประโยชน์ซ้ำสำหรับ 3 โรคร้ายระดับรุนแรง⁴ ที่เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของคนไทย
● รับความคุ้มครองรวมสูงสุด 800% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย เมื่อ
– ตรวจพบโรคร้ายแรงระดับต้นถึงระดับปานกลาง จะได้รับผลประโยชน์ 40% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย สูงสุด 5 ครั้ง
– ตรวจพบโรคร้ายแรงระดับรุนแรง รับผลประโยชน์ 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย สูงสุด 6 ครั้ง
● คุ้มครองโรคร้ายแรงครอบคลุม 6 กลุ่มโรค รวมกว่า 62 โรค/การรักษา
● คุ้มครองยาวนานสูงสุดถึงอายุ 99 ปี
● ยกเว้นเบี้ยประกันภัย⁵ เมื่อได้รับการวินิจฉัยและหรือยืนยัน จากแพทย์เป็นครั้งแรกในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ว่าเจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรงระดับรุนแรง
● จ่ายผลประโยชน์ซ้ำ สำหรับ 3 โรคร้ายแรงสุดฮิตของคนไทย เมื่อตรวจพบโรคร้ายแรงเหล่านี้ในระดับรุนแรง ได้แก่
– โรคมะเร็งระยะลุกลาม
– กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด
– โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว คุณคงเห็นภาพชัดขึ้นแล้วว่า #มีทั้งคู่อุ่นใจกว่า เพราะการมีประกันสุขภาพจะให้ผลประโยชน์ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลต่าง ๆ ในขณะที่การมีประกันโรคร้ายแรงจะให้ผลประโยชน์ในรูปแบบเงินก้อน ที่จ่ายให้กับผู้เอาประกันภัยโดยตรง ซึ่งเงินในส่วนนี้เราสามารถนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็นในการต่อสู้กับโรคร้ายแรงและการดำเนินชีวิตได้
สนใจสมัครประกันสุขภาพและประกันโรคร้ายแรง กดติดต่อกลับเพื่อกรอกแบบฟอร์ม ให้ตัวแทนแนะนำแบบประกันที่เหมาะกับคุณ
หมายเหตุ :
– ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
– ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
¹ผลประโยชน์เหมาจ่ายในบางรายการ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากกรมธรรม์ เมื่อรวมผลประโยชน์หมวด 1-13 และค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (ถ้ามี) ต้องไม่เกินผลประโยชน์สูงสุดต่อรอบปีกรมธรรม์
²ผลประโยชน์สูงสุดเพิ่มเป็น 2 เท่าของจำนวนเงินเอาประกันภัย ในปีกรมธรรม์ที่ผู้เอาประกันภัยเข้ารับการรักษาตัวด้วยโรคร้ายแรง ตามคำนิยามที่กำหนดในบันทึกสลักหลัง
³โรคร้ายแรง หมายถึง โรคร้ายแรงตามคำนิยามของโรคร้ายแรงที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้บันทึกสลักหลัง ผลประโยชน์ความคุ้มครองกรณีโรคร้ายแรง มีดังนี้ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด (Acute Heart Attack), โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน (Major Stroke), การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ (Coronary Artery By-Pass Surgery), โรคมะเร็งระยะลุกลาม (Invasive Cancer), การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก (Major Organs Transplantation or Bone Marrow Transplantation), และการผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ เอออร์ต้า (Surgery to Aorta)
⁴สำหรับ 3 โรคร้ายแรงระดับรุนแรง ได้แก่ โรคมะเร็งระยะลุกลาม กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน
⁵เบี้ยประกันภัยของสัญญาเพิ่มเติมงวดแรกที่ได้รับการยกเว้นคือ งวดแรกที่ครบกำหนดชำระถัดจากวันที่ผู้เอาประกันภัยได้รับการวินิจฉัยและหรือยืนยันจากแพทย์เป็นครั้งแรก ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ว่าเจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรงระดับรุนแรงที่ให้ความคุ้มครอง และเบี้ยประกันภัยงวดสุดท้ายที่ได้รับยกเว้นคือ เบี้ยประกันภัยงวดที่ครบกำหนดชำระก่อนหน้า วันสิ้นผลบังคับของสัญญาเพิ่มเติมนี้
*อ้างอิงข้อมูลจาก ข้อมูลค่ารักษาพยาบาลปี 2564 ฝ่ายสินไหมประกันสุขภาพ เอไอเอ ประเทศไทย
**อ้างอิงข้อมูลจากการรวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ทางการของโรงพยาบาล